วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เพลโต Introducing Plato


เพลโต : ผู้เป็นราชาแห่งปวงปราชญ์ตะวันตก
Introducing Plato


เดฟ โรบินสัน : เขียน
จูดี้ โกรฟส์ : ภาพประกอบ
ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา : แปล
โครงการสรรพสาส์น สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก : จัดพิมพ์
จำนวน : 184 หน้า
ราคา 200 บาท
ISBN 978-616-7296-87-6
.....

บทนำ

นานเท่าใดแล้ว ที่มนุษย์เพียรตั้งคำถามกับสรรพสิ่ง แลได้คำตอบมาเป็น ‘สัจจะ’ ไว้ยึดถือ ไว้ประกาศ ไว้ใช้แบ่งฝักฝ่ายกันบนฐานทวิลักษณ์อย่างบ้าคลั่งเอาเป็นเอาตาย ในแบบเดิม ๆ

ฉันคือแสงสว่าง แกคือเงามืด

นานเท่าใดแล้ว ที่มนุษย์บางแบบประกาศตนว่ามีปัญญาเป็นไทจากเทพซุส โดยท่องบ่นมนตราอย่างมีศิลป์ออกสื่อ สรรเสริญเทพชื่อ “ความเสมอภาค” “ประชาธิปไตย” “ความยุติธรรม” ฯลฯ ซึ่งดูเหมือนเป็นไปเพื่อประโยชน์แด่ชาวนครา ทว่าในความเงียบงันลับตา กลับปีนป่ายหัวประชาราษฎร์วงนอกสู่ชั้นบนแห่งความเหลื่อมล้ำอันพิศดารและเอารัดเอาเปรียบยิ่งขึ้นไป

มนุษย์เพียงตั้งคำถามกับสรรพสิ่งแบบเดิม ๆ และลงเอยกับคำตอบแบบเดิม ๆ แต่ยากนัก จักตั้งคำถามกับสิ่งที่หล่อหลอมเป็นตัว “ตน” กระทั่ง trans “form” และ ปลดพันธนาการแห่งความไม่รู้...ได้อย่างแท้จริง

ขอบคุณ Introducing Plato ที่เป็นเสมือนกระจกสะท้อนคำถามและคำตอบของมนุษย์ในอดีตซึ่งยังดำรงอยู่กับเราในปัจจุบันอย่างซ้ำซาก โดยมีคุณลักษณะเดิม ๆ ของมนุษย์เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง คุณลักษณะที่ถูกสถาปนาว่าเป็นแสงและเงา ทั้งที่เรายอมรรับและไม่ยอมรับว่าดำรงอยู่ในเรา

กล่าวอีกนัยหนึ่ง Introducing Plato ได้เผยความโยงใยของแสงเงาแห่งเราและผู้อื่นเหล่านั้น อีกความเชื่อมโยงของมนุษย์ในปัจจุบันและในอดีต ปัจเจกชนและรัฐ โครงสร้างเล็กและใหญ่ จิตและจักรวาล สสารและจิตวิญญาณ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้จุดประกายความรักในปัญญาซึ่งอาจเป็นโทนสีไร้สีที่เร้นอยู่ในจิตไร้สำนึกร่วม

ความรักเช่นนั้นอาจช่วยปลอบโยนจิตวิญญาณซึ่งได้ถูกกระแทกกระเทาะอย่างเหี้ยมโหดรุนแรงระหว่างแสวงหาทางเดินและลอยคว้างอย่างโดดเดี่ยว เจ็บปวดอย่างบีบคั้นสุดทน ในความไม่รู้ ครั้งแล้วครั้งเล่า ประหนึ่งมิรู้จบ...

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา
ผู้ไม่รู้
พ.ศ. 2554

……………………………………………………………………………………

ตัวอย่างหัวข้อ

ราชาแห่งปวงปราชญ์
โลกแห่งเอเธนส์
อคาเดมี
วิชาการอันสงบสุข
อารยธรรมกรีก
ศาสนาคณิตศาสตร์
อโพโลจี
อิทธิพลของโสกราตีสต่อเพลโต
บทนำสู่อตมรัฐ
ทัศนะเชิงอุดมการณ์ต่อศีลธรรม
ทำไมเพลโตจึงต้องมีแบบ
อะไรคือสิ่งสากล
ตำนานโลหะสี่แบบ
ภาษา ความคิด และสิ่งต่าง ๆ
เพลโตเป็นนักปรัชญาแบบไหน
ทฤษฎีการรับรู้ 
ฯลฯ


ทางฝึกตน ถนนธรรมะ (Dharma Road)

 


Dharma Road
โลดแล่นสู่การค้นพบตัวเองไปกับแท็กซี่วิถีพุทธ

ไบรอัน เฮย์ค็อค : เขียน
โตมร ศุขปรีชา : แปล
อนุสรณ์ ติปยานนท์ : เกริ่นนำ
โครงการสรรพสาส์น สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก : จัดพิมพ์
จำนวน : 256 หน้า
ราคา 200 บาท



จากถ้อยเกริ่นนำ

หนังสือ ทางฝึกตน ถนนธรรมะ ช่วยตอกย้ำโลกอันอดทนของพวกเขาให้ผมเห็นกระจ่างขึ้น 
ชายผู้นั่งหลังพวงมาลัยวันละกว่าสิบชั่วโมงนามไบรอัน ช่างเป็นมนุษย์ที่อัศจรรรย์เสียจริง 
ร่างกายที่ลิ้มรสแต่อาหารขยะเพื่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอด หูที่ฟังแต่สัญญาณเสียงเรียกจากศูนย์วิทยุ 
เท้าที่อยู่ที่คันเร่ง ตาที่สอดส่ายหาลูกค้าในดาวน์ทาวน์ 
อายตนะภายนอกของเขาอยู่บนท้องถนน มีแต่จิตใจภายในของเขาเท่านั้นที่อยู่ที่เซน 
หรือพูดให้ตรง อยู่ที่พุทธธรรมแบบมหายานที่เรียกว่า เซน

การอ่านหนังสือเล่มนี้จนจบเป็นความเพลิดเพลินอย่างยิ่งยวด 
แม้มันจะไม่ใช่ความเพลิดเพลินแบบที่เราเรียกว่าเอนเตอร์เทน 
หากแต่เป็นความเพลิดเพลินแบบเอดูเทน คือการให้ความรู้แบบร่าเริงใจ 
นับแต่บทนำที่ว่าด้วยการขับรถด้วยใจเปิดกว้าง อันเป็นการพูดถึงโกอานหรือปริศนาธรรมในเซน 
ว่าชีวิตนี้ช่างมีอะไรให้เราได้ขบคิดและใช้เป็นครูด้านศาสนธรรมมากเพียงใด 
เขาติดเครื่องรถและพาเราไปพบชีวิตหลังพวงมาลัยวันแล้ววันเล่า แต่เป็นวันแล้ววันเล่าที่ไม่เหมือนเดิม 
เขาเล่าถึงการต้องสู้กับภาวะจิตระส่ำระสายแม้ในยามที่งานมหาศาลรออยู่เบื้องหน้า 
เขาพาเราไปสู่ภาวะที่รู้จักพอและรู้จักประมาณค่าอาการกระหาย อยากได้ใคร่มี 
อันเป็นภาวะที่อุบัติขึ้นในโลกปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง การพูดถึงมรรคแปดในฐานะสัญญาณจราจร 
การพูดถึงการเริ่มต้นอาชีพเทียบเคียงกับจิตของผู้เริ่มต้นฝึกพุทธธรรม 
ที่อาจมีการหกล้มหกลุกอยู่ตลอดเวลา การเปรียบเทียบของเขาช่างอัศจรรย์ 
มันผ่านการขบคิด เข้าใจ และรับรู้ผลเหล่านั้นอย่างเห็นได้ชัด

...

บทท้ายของหนังสือ เฮย์ค็อคเล่าถึงการนั่งลงเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ 
เขาตระหนักว่านั่นคือช่วงเวลาที่ดีของตัวเขา แม้มันจะเริ่มต้นแบบธรรมดา 
แต่การได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่ว่านี้พร้อมกับประสบการณ์ด้านพุทธธรรม 
ผู้โดยสาร คนบนถนน วิถีชีวิตที่เขาพบเจอ ความล้มเหลวที่เขาได้รับ 
นำเขามายังจุดนี้ จุดที่เขาคิดว่าควรจะแบ่งปันประสบการณ์ที่ว่า
แม้แต่การนั่งหลังพวงมาลัยในฐานะคนขับแท็กซี่ธรรมดา
ก็อาจพาคุณไปได้ไกลแสนไกลในด้านจิตใจและพุทธธรรม

ประโยคสุดท้ายในหนังสือของเขาน่าจะทดแทนทุกอย่างได้ชัดเจน 
รวมถึงความเห็นของผมด้วย 
...เอาหละ หวังว่าคุณคงสนุกกับการเดินทาง ลงจากรถออกไปข้างนอกดีๆ นะครับ 
ขอให้มีชีวิตที่ดี ในตอนนี้ ...

อนุสรณ์ ติปยานนท์
เชียงใหม่ ๒๕๕๕
.........................................................................................................................................................

สารบัญ

บทนำ : ขับรถด้วยใจเปิดกว้าง
๑. ติดเครื่อง
๒. โลกนี้ช่างเป็นทุกข์
๓. กระหายความยึดมั่น
๔. ทางด่วนแปดเลี้ยว
๕. จิตของไก่อ่อน
๖. ผมน่ะคิดดีนะ
๗. แผนบำรุงรักษาของคนขับแท็กซี่
๘. สนใจ สนใจ สนใจ
๙. นั่ง อย่าคิด
๑๐. หยุดและสูดกลิ่นกาแฟร้อน
๑๑. หาที่ยึด
๑๒. อุ-อุ-อุ-อุ
๑๓. ขับรถข้ามเมือง
๑๔. สิ่งที่ผมชอบ
๑๕. ถึงเวลาทำความสะอาด
๑๖. ตกแสงจันทร์
๑๗. จันทร์หม่น
๑๘. ขอบคุณ ขอบคุณ
๑๙. ชีวิตที่ถูกต้อง
๒๐. เมตตาน่ารัก-น่ารัก
๒๑. ฟังเรื่องนี้สิ
๒๒. บนหนทางสู่ความรุนแรงบนท้องถนน
๒๓. หาเรื่องคนขับแท็กซี่กันเถอะ
๒๔. ไม่มีอะไรให้กลัวมากนักหรอก
๒๕. แก๊งสังฆะ
๒๖. เมื่อมาเกยตื้น
๒๗. ขับเข้าไปในถนนปาร์ตี้
๒๘. กรรมแท็กซี่ชีช้ำกะหล่ำปลี
๒๙. ที่สุดปลายถนน
๓๐. อภิปรัชญาของผม
๓๑. แผนที่แลถ้อยคำ
๓๒. พระเจ้าซ่อนตัวอยู่ในการจราจร
๓๓. แสงสว่างขึ้น (หรืออย่างน้อยก็กะพริบ)
๓๔. คืนก่อนปีใหม่
บทสรุป : ถัดไปบนถนนสายนี้

LinkWithin

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...